กองทุน SSF คืออะไร? เรื่องที่ควรรู้ก่อนซื้อกองทุน SSF

กองทุน SSF หรือ Super Saving Funds คือกองทุนอะไร? กองทุน SSF เหมาะกับใคร? แล้วกองทุน SSF ลงทุนในอะไรบ้าง? สิทธิประโยชน์ต่างๆของกองทุน SSF ที่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนจะได้คืออะไรบ้าง? ถ้าทุกท่านมีความถามเหล่านี้อยู่ในใจ ทุกท่านมาถูกทางแล้วนี่คือบทความที่จะตอบคำถามที่อยู่ในใจทุกท่าน รวมถึงสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือเรื่องที่ควรรู้ก่อนซื้อกองทุน SSF ว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่เราควรรู้ ถ้าพร้อมแล้วลุยกันเลยครับ

กองทุน SSF คืออะไร? 

กองทุนรวมซุปเปอร์ออมทรัพย์ (SSFs) กองทุน Super Savings Fund หรือ SSF เป็นกองทุนส่งเสริมการออมระยะยาวที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทดแทนกองทุน Long Term Equity Fund หรือ LTF ที่สิ้นสุดในปี 2562 วัตถุประสงค์ของกองทุนประเภทนี้คือเพื่อส่งเสริมผู้มีรายได้ปานกลางถึงต่ำ กลุ่มและคนที่กำลังเข้าสู่กลุ่มแรงงานเพื่อให้มีเงินออมระยะยาวมากขึ้นและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

กองทุน SSF เหล่านี้สามารถลงทุนในทรัพย์สินทุกประเภท ได้แก่ หลักทรัพย์ไทย หลักทรัพย์ต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนสมดุล และมีทั้งการจ่ายเงินปันผลและไม่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล ผู้ลงทุนจึงต้องเข้าใจลักษณะ นโยบายการลงทุน และเงื่อนไขผลตอบแทนการลงทุน ความเสี่ยงและสิทธิประโยชน์ทางภาษีของ SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน

กองทุน SSF เหมาะกับใคร

กองทุน SSF จะเน้นเรื่องการออมซึ่งคล้ายกับกองทุน RMF แต่ก็ยังมีข้อแตกต่างที่สำคัญคือ กองทุน RMF นั้นจะต้องอยู่ในกองทุนจนถึงอายุครบ 55 ปี ถึงจะสามารถขายคืนได้ ต่างกับกองทุน SSF ที่มีระยะเวลาขายคืนอยู่เพียงแค่ 10 ปีก็สามารถขายคืนได้แล้ว กองทุน SSF จึงเหมาะกับผู้ที่ไม่ได้ต้องการเงินก้อนเพื่อการเกษียณเพียงอย่างเดียว และยังเหมาะกับผู้ที่ออมเงินเพื่อลงทุนที่มีเป้าหมายในอนาคตอีกด้วย 

กองทุน SSF ลงทุนในอะไรบ้าง

กองทุน SSF นั้นลงทุนในหลักทรัพย์ทุกประเภท เช่น หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนรวมผสม ฯลฯ ซึ่งจะมีการลงทุนหลากหลายมากกว่ากองทุน LTF ที่ลงทุนเฉพาะหุ้นสามัญในประเทศไทยเท่านั้น ทำให้กองทุน SSF มีความน่าสนใจมากว่า

กองทุน SSF คืออะไร? เรื่องที่ควรรู้ก่อนซื้อกองทุน SSF

สิทธิประโยชน์ของกองทุน SSF

ในส่วนของสิทธิประโยชน์ของกองทุน SSF นั้นผู้ลงทุนที่ซื้อกองทุน SSF สามารถน้ำเงินนั้นไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่กฏหมายกำหนดเพดานให้หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่มีข้อจำกัดคือลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตลอดทั้งปีหรือไม่เกิน 200000 บาทเมื่อนับรวมกองทุนการออมเพื่อการเกษียณประเภทอื่นๆตามเงื่อนไขที่กำหนด จะต้องไม่เกิน 500000 บาท

ยกตัวอย่าง ถ้ามีเงินที่ต้องเสียภาษีตลอดทั้งปีเป็นเงิน 2,000,000 บาท แล้วซื้อกองทุน SSF ไป 400,000 บบาท จะหักได้ตามที่จ่ายจริงแค่ไม่เกิน 200,000 บาท

ข้อเสียของกองทุน SSF

หลังจากทุกท่านได้ทราบข้อดีต่างๆของกองทุน SSF ไปแล้วทีนี้เรามาดูอีกมุมหนึ่งของกองทุน SSF ว่าข้อเสียมีอะไรบ้างกันครับ

  • เงื่อนไขการขายคืนหน่วยลงทุนเพิ่มเป็น 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ ซึ่งมีระยะเวลานานที่ยาวกว่าเดิมกล่าวคือ LTF เดิมทีสามารถขายคืนได้ใน 7 ปี
  • ปัจจุบันให้ประโยชน์ลดหย่อนภาษีเพียง 5 ตั้งแต่ปี 2563 – 2567 โดยหลังจากนี้จะมีการพิจารณาอีกที

กองทุน SSF มีเงื่อนไขอย่างไร

การลงทุนของ SSF จะต้องจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปีหรือมากกว่านับจากวันแรกของการลงทุน (นับจากวันที่ลงทุนครั้งแรกจนถึงวันครบรอบ) แต่ไม่สามารถใช้ได้ในกรณีที่ผู้ลงทุนทุพพลภาพหรือเสียชีวิต การไถ่ถอนหน่วยลงทุนเป็นแบบเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) การลงทุนของ SSF สามารถหักลดหย่อนภาษีได้เฉพาะในปีที่นักลงทุนลงทุนใน SSF หากฝ่าฝืนเงื่อนไขการลงทุนของ SSF ผู้ลงทุนต้องปฏิบัติตามระเบียบที่ระบุไว้ในคู่มือ SSF

กองทุน SSF คืออะไร? เรื่องที่ควรรู้ก่อนซื้อกองทุน SSF

กองทุน SSF มีรายละเอียดอย่างไร

หลังจากทุกท่านได้ทราบถึงประโยชน์และสิทธิต่างๆของกองทุน SSF ไปแล้ว คงจะมีคำถามในใจเกี่ยวกับรายละเอียดของเจ้ากองทุน SSF อยู่ใช่ใหมละครับ ต่อไปนี้คือรายละเอียดเล็กๆน้อยของตัวกองทุน SSF ที่ทุกท่านควรทราบครับ

  • การถือครองของกองทุน SSF นั้นจำเป็นต้องถือครองไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อ (นับแบบวันชนวัน)
  • กองทุน SSF นั้นลงทุนในหลักทรัพย์ทุกประเภท เช่น หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนรวมผสม ฯลฯ
  • ไม่กำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน
  • เงินที่จ่ายซื้อหน่วยลงทุน SSF สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยเริ่มปรับใช้ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป สามารถลดหย่อนได้ปีต่อปี ในช่วงระยะเวลาปี 2563-2567

เรื่องที่ควรรู้ก่อนซื้อกองทุน SSF

หลังจากทุกท่านได้อ่านหัวข้อ สิทธิประโยชน์ต่างๆ หรือกองทุน SSF เหมาะกับใคร ข้อดีข้อเสียกันไปแล้วรวมถึงเงื่อนไขของกองทุน SSF ว่ามีอย่างไรบ้างทีนี้ผมจะพาทุกท่านไปสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กับหัวข้อที่เกริ่นมาข้างต้นนั่นคือ เรื่องที่ควรรู้ก่อนซื้อกองทุน SSF ตามด้านล่างนี้เลย

  • ปัจจุบันยังไม่มีแผนใช้เงิน

กองทุน SSF สามารถใช้เป็นเงินเก็บออมระยะยาวได้เนื่องจากจำเป็นต้องถือครองหน่วยลงทุนอย่างน้อย 10 ปี ผู้ลงทุนจึงจำเป็นต้องมีความมั่นใจว่าสามารถถือหน่วยลงทุนได้จนครบกำหนดโดยไม่มีปัญหาทางการเงิน

  • เหมาะสมกับผู้ที่ต้องการลงทุนตั้งแต่อายุไม่เยอะ

สำหรับนักลงทุนที่อายุน้อยกว่า 45 ปีแล้วเมื่อคำนวณระยะเวลาในการลงทุนแล้วนั้น จะพบว่าการลงทุนในกองทุน SSF นั้นมีความเหมาะสมมากว่ากองทุน RMF เพราะระยะเวลาการลงทุนสั้นกว่า คือสามารถถือหน่วยลงทุนเพียง 10 ปีก็สามารถทำการขายคืนได้แล้ว ต่างจากกองทุน RMF ที่ต้องลงทุนต่อเนื่องจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์และต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปีเต็มนับจากวันลงทุนวันแรกด้วย

กองทุน SSF, SSF Extra กับ LTF ต่างกันตรงไหน

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกองทุน SSF, SSF Extra และ LTF

กองทุน SSF คืออะไร? เรื่องที่ควรรู้ก่อนซื้อกองทุน SSF

สรุป

หลังจากกองทุน LTF สิ้นสุดการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในปี 2562 ส่งผลให้กองทุน SSF และ SSF Extra ได้ถือกำเนิดขึ้น โดยข้อดีและข้อเสียแต่ละกองทุนก็แตกต่างกันไปโดยผมจะสรุปให้ฟังอีกครั้งนะครับ

  • กองทุน SSF ออกแบบมาเพื่อการลงทุนระยะยาว แต่ไม่ยาวเท่า RMF โดยระยะเวลาถือครองจนสามารถขายคืนอยู่ที่ 10 ปี อีกทั้งกองทุน SSF ยังมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีมาเป็นแรงจูงใจอีกด้วย และที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับกองทุน SSF คือเป็นตัวเลือกการลงทุนสินทรัพย์ที่หลากหลาย เช่น หุ้น อสังหาริมทรัพย์ หุ้น ตราสารหนี้ ดัชนี เป็นต้น
  • กองทุน SSF Extra ออกแบบมาเพื่อพยุงตลาดหุ้นไทยที่ทรงไม่ดีจากวิกฤต Covid-19 ที่ส่งผลกระทบให้กับเศรษฐกิจทั่วโลกโดยใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการจูงใจเช่นกัน

หากทุกท่านกำลังมองหาช่องทางลดหย่อนภาษี กองทุน SSF ก็เป็นตัวเลือกที่ดีเลยทีเดียวสำหรับการลดหย่อนได้สูงสุดถึง 30% ของเงินได้พึงประเมินหรือไม่เกิน 200,000 บาท สุดท้ายนี้การลงทุนมีความเสี่ยง ของให้ทุกท่านศึกษาข้อมูลให้มั่นใจก่อนทำการลงทุนครับ

Nutsaphong Pisade
Nutsaphong Pisade
ภูมิหลังของ Nutsaphong Pisade เป็นมืออาชีพด้านการเงิน ซึ่งการงานได้ครอบคลุมทั้งตลาดหลักทรัพย์สวิสการเงินและเศรษฐศาสตร์ และเป็นนักเขียนมา 15 ปี
บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

บทความเพิ่มเติม
- Advertisment -